สารบัญบทความ
Toggleทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์จากนมอยู่รอบตัวเรามากกว่าที่คิด ตั้งแต่แก้วกาแฟยามเช้า ขนมหวานมื้อบ่าย ไปจนถึงซุปครีมในมื้อเย็น แต่สำหรับบางคนการดื่มนมหรือรับประทานผลิตภัณฑ์นมกลับนำมาซึ่งปัญหาไม่พึงประสงค์อย่างท้องอืดปวดท้อง หรือแม้แต่ท้องเสีย เพราะพวกเขากำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่าภาวะแพ้แลคโตส (Lactose Intolerance) แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่การแพ้แลคโตสก็ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก เราจึงควรรู้จักเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เพื่อให้เลือกผลิตภัณฑ์นมที่เหมาะสมได้ด้วย เช่น นมพืช นมออร์แกนิค หรือโยเกิร์ตออร์แกนิกที่ผ่านกระบวนการย่อยแลคโตสตามธรรมชาติ
สำหรับบทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะแพ้แลคโตสอย่างละเอียด ตั้งแต่สาเหตุ อาการ การรักษา ไปจนถึงสิ่งที่ควรกิน และหลีกเลี่ยง พร้อมตอบคำถามยอดฮิต เช่น แพ้แลคโตส ห้ามกินอะไร ? แพ้แลคโตส กินยาอะไร ? แพ้แลคโตส กินอะไรได้บ้าง ?
แลคโตสคืออะไร พบได้ในอะไรบ้าง?

แม้หลายคนจะรู้จักแลคโตสในฐานะน้ำตาลในนม แต่ในชีวิตประจำวันจริง ๆ แลคโตสไม่ได้มีแค่ในแก้วนมเพียงอย่างเดียว เราสามารถพบแลคโตสแฝงอยู่ในอาหารและผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารที่มักใช้ผลิตภัณฑ์จากนมหรือแลคโตสเป็นส่วนประกอบในการเพิ่มเนื้อสัมผัส กลิ่น รสชาติ และความคงตัวของอาหาร และยังพบแลคโตสได้ในหลากหลายอาหารไม่ว่าจะเป็น

- นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมสด นมพร่องมันเนย เนย ครีม ไอศกรีม โยเกิร์ต ชีสบางชนิด
- ขนมหวานและเบเกอรี่ เช่น เค้ก คุกกี้ ช็อกโกแลต ขนมปังบางชนิด พุดดิ้ง คัสตาร์ด
- อาหารสำเร็จรูปและของแปรรูป เช่น ซุปกึ่งสำเร็จรูป ซอสปรุงรส ไส้กรอก แฮม มายองเนสบางสูตร
- ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด ยาหลายตัวใช้แลคโตสเป็นสารเติมแต่ง (Excipient) ในเม็ดยา
- อาหารเสริมโปรตีน เช่น เวย์โปรตีนที่ไม่ได้แยกแลคโตสออก (Whey concentrate)
ทำไมต้องรู้แหล่งที่มาของแลคโตส ?

เนื่องจากหลายครั้งผู้ที่มีภาวะแพ้แลคโตสมักเข้าใจผิดว่าหลีกเลี่ยงนมอย่างเดียวก็เพียงพอ แต่ก็ยังเกิดคำถามว่าแพ้แลคโตส อันตรายไหม ทั้งที่จริงแล้วแลคโตสสามารถแฝงมาในอาหารทั่วไปได้โดยไม่รู้ตัว การอ่านฉลากโภชนาการและส่วนประกอบจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคำว่า “Lactose-Free” หรือ “ปราศจากแลคโตส” อย่างชัดเจน
ประเภทของอาการแพ้แลคโตส
จริง ๆ แล้วภาวะแพ้แลคโตส ไม่ได้หมายถึง การแพ้ในความหมายของอาการภูมิแพ้ (Allergy) แต่เป็นความผิดปกติในการย่อยน้ำตาลแลคโตส เพราะร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยแลคโตสในลำไส้เล็ก เมื่อแลคโตสไม่ได้ถูกย่อยจึงเกิดอาการไม่สบายท้องตามมา โดยแบ่งประเภทของภาวะนี้ออกเป็น 3 แบบหลัก ๆ ดังนี้
1. Primary Lactose Intolerance หรือภาวะแพ้แลคโตสโดยธรรมชาติ
พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มคนเอเชีย รวมถึงคนไทย ซึ่งเกิดจากการที่เอนไซม์แลคเตสลดลงเองตามอายุหลังหย่านมแม่ ทำให้ความสามารถในการย่อยแลคโตสลดลงไปเรื่อย ๆ
2. Secondary Lactose Intolerance หรือภาวะแพ้แลคโตสจากสาเหตุอื่น
ซึ่งเกิดจากการเจ็บป่วยหรือมีภาวะที่กระทบต่อเยื่อบุลำไส้เล็ก เช่น ลำไส้อักเสบ การติดเชื้อไวรัสบางชนิด และภาวะลำไส้เล็กเสียหาย หลังจากรักษาโรคต้นเหตุจนลำไส้ฟื้นตัว อาการแพ้แลคโตสมักจะดีขึ้นหรือหายไป
3. Congenital Lactase Deficiency หรือภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสตั้งแต่กำเนิด
เป็นภาวะหายากที่เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเตสได้เลย ทำให้เด็กมีอาการตั้งแต่เริ่มรับนมแม่ ต้องได้รับการดูแลทางโภชนาการเฉพาะอย่างใกล้ชิด
4. Developmental Lactase Deficiency หรือภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสในทารกคลอดก่อนกำหนด
ระบบย่อยยังเจริญไม่เต็มที่ อาจผลิตเอนไซม์แลคเตสได้ไม่พอในช่วงแรก แต่ภาวะนี้มักดีขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น
อาการแสดงของภาวะแพ้แลคโตส

เมื่อร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตสในการย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในผลิตภัณฑ์นม น้ำตาลแลคโตสที่ย่อยไม่หมดจะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่ ซึ่งแบคทีเรียในลำไส้จะทำการหมักและย่อยแทน ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา โดยอาการสามารถเกิดขึ้นภายใน 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่มีแลคโตสเข้าไป ดังนี้
- อาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่
- ท้องอืด โดยเกิดจากการหมักแลคโตสจนเกิดแก๊สในลำไส้
- ปวดท้อง หรือแน่นท้อง ซึ่งมักเป็นอาการบีบเกร็งของลำไส้เนื่องจากแรงดันจากแก๊สที่เกิดขึ้น
- ท้องเสีย เพราะน้ำตาลแลคโตสที่ไม่ถูกดูดซึมจะดึงน้ำเข้าสู่ลำไส้ ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว
- ผายลมบ่อย เนื่องจากแก๊สที่สร้างโดยแบคทีเรียในลำไส้
- คลื่นไส้หรืออาเจียน อาจพบในบางรายที่ไวต่ออาการมาก
- อาการที่อาจพบร่วมกัน แม้อาการหลักจะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร แต่บางรายอาจรู้สึกอ่อนเพลีย มึนศีรษะ หรือมีอาการคล้ายอาหารไม่ย่อย เนื่องจากร่างกายพยายามปรับสมดุลจากความไม่สบายในช่องท้อง
- ระดับความรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละคน โดยในบางคนอาจมีอาการชัดเจนแม้รับประทานแลคโตสเพียงเล็กน้อย บางคนอาจทนได้ในปริมาณหนึ่งโดยไม่มีอาการ ซึ่งปริมาณแลคโตสที่ทำให้เกิดอาการแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล
- จุดสังเกตสำคัญ โดยอาการมักสัมพันธ์กับการกินผลิตภัณฑ์นม เช่น นมวัว ชีส เนย โยเกิร์ต หรือไอศกรีม อาการจะทุเลาลงเมื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแลคโตส
ขั้นตอนการวินิจฉัยอาการแพ้แลคโตส

แม้ว่าอาการของภาวะแพ้แลคโตสจะค่อนข้างชัดเจน แต่เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดว่าปัญหามาจากแลคโตสจริงหรือไม่ แพทย์มักจะใช้วิธีการวินิจฉัยหลายรูปแบบ มาดูกันว่าเราจะรู้ได้อย่างไรบ้างว่าแพ้แลคโตสจริง
- การลองงดอาหารที่มีแลคโตส ซึ่งเป็นวิธีง่ายที่นิยมใช้ คือให้ผู้ป่วยงดอาหารที่มีแลคโตสทั้งหมดชั่วคราว หากอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อหยุดกิน ก็อาจระบุได้ว่าแลคโตสเป็นสาเหตุของอาการนั้น
- การทดสอบน้ำตาลแลคโตสในลมหายใจ (Hydrogen breath test) เป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัย โดยให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผสมแลคโตส จากนั้นจะวัดระดับไฮโดรเจนในลมหายใจ หากพบว่าระดับสูงขึ้นมาก แสดงว่าร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มแลคโตส (Lactose tolerance test) คือการวัดระดับกลูโคสในเลือดหลังจากกินแลคโตส ถ้าร่างกายย่อยแลคโตสได้ไม่ดี ระดับน้ำตาลในเลือดจะไม่เพิ่มขึ้นตามปกติ
- การตรวจทางพันธุกรรม เป็นการตรวจหาความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเอนไซม์แลคเตส นิยมใช้ในบางกรณีที่ต้องการวินิจฉัยเชิงลึก
การรักษาอาการแพ้แลคโตส

การรักษาหลัก คือการควบคุมอาหาร แต่ก็ยังมีวิธีการดูแลตัวเองได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- ปรับลดปริมาณแลคโตส โดยหลีกเลี่ยงนมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีแลคโตสสูง เช่น นมสด เนยบางชนิด ไอศกรีม
- เลือกผลิตภัณฑ์นมทางเลือก เช่น
- นมปราศจากแลคโตส (Lactose-Free)
- นมออร์แกนิคที่ผ่านการย่อยแลคโตสบางส่วน เช่น นมและโยเกิร์ตออร์แกนิค Butterfly Organic ซึ่งมีแบคทีเรียช่วยย่อยแลคโตสตามธรรมชาติ
- นมจากพืช เช่น นมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง นมโอ๊ต
3. ทานเอนไซม์แลคเตสเสริม สำหรับบางคนสามารถใช้ยาที่ช่วยย่อยแลคโตสก่อนทานอาหาร
4. เสริมแคลเซียมและวิตามินดี โดยการทานอาหารเสริมหรืออาหารทางเลือกที่มีสารอาหารครบถ้วน
วิธีป้องกันภาวะแพ้แลคโตส
แม้จะไม่สามารถป้องกันการเกิดภาวะแพ้แลคโตสแบบแต่กำเนิดได้ แต่เราลดความรุนแรงของอาการนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็น
- เช็กอาการตัวเองหลังรับประทานนมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว
- ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณแลคโตสทีละน้อยให้ร่างกายปรับตัว
- เลือกโยเกิร์ตหรือนมวัวออร์แกนิคที่มีแบคทีเรียช่วยย่อยแลคโตสได้ดี
- ตรวจสุขภาพลำไส้อย่างสม่ำเสมอ

ภาวะแพ้แลคโตสเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยกว่าที่หลายคนคิด และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แม้จะไม่ใช่ภาวะที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้ ทั้งในเรื่องของระบบทางเดินอาหาร รวมถึงความกังวลในการเลือกอาหารในชีวิตประจำวัน การที่เรารู้ว่าเราแพ้แลคโตส ทำให้เราดูแลตัวเองได้ดีขึ้น รู้ว่าเราห้ามกินอะไร สังเกตอาการตัวเองอย่างไรได้บ้าง ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการดูแลตัวเอง นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกับภาวะนี้ การปรับพฤติกรรมการกินและเลือกผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ดี เช่น นมออร์แกนิค หรือนมที่ปราศจากแลคโตส หรือโยเกิร์ตออร์แกนิค จึงเป็นทางเลือกสำคัญ อย่างเช่น Butterfly Organic เอง ก็พัฒนาผลิตภัณฑ์นมและโยเกิร์ตออร์แกนิคที่ใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การเลี้ยงวัวไปจนถึงการรับรองมาตรฐาน USDA เพื่อให้ทุกคนสามารถบริโภคผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ปลอดภัย และเหมาะกับทุกความต้องการทางสุขภาพ
常問問題
แหล่งอาหารที่สามารถพบแลกโตสได้ตามธรรมชาติ ได้แก่ นมวัว นมแพะ นมแกะ ชีส โยเกิร์ต (บางชนิด) เนย หรืออาหารแปรรูปบางชนิด อย่างเช่น ซอส คุกกี้ และขนมปัง
ส่วนใหญ่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่มีอาการที่ทำให้ไม่สบายตัว เช่น ท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ทำการหมักแลคโตสแทน จนเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว
การแพ้แลคโตสในเด็ก แก้ได้โดยการเปลี่ยนให้เด็กมาดื่มนมเป็นสูตรไม่มีแลคโตส (Lactose-free formula) หรือดื่มนมพืช อย่าง นมถั่วเหลือง นมข้าว นมอัลมอนด์ แต่หากมีอาการแพ้ที่ดูรุนแรง สามารถปรึกษาแพทย์สำหรับคำแนะนำเฉพาะ หรือนักโภชนาเพื่อปรับพฤติกรรมการกินได้
สำหรับคนที่มีอาการแพ้แลคโตส สามารถเปลี่ยนมาดื่มนมและผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบบ Lactose-free นมพืช อย่าง นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ และนมข้าว หรือแหล่งอาหารจากธรรมชาติอย่าง ปลา ไข่ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ข้าว และถั่วต่าง ๆ
แลคโตส จะอยู่ในอาหารที่มีนมทุกชนิด เช่น วัว แพะ แกะ ชีส ไอศกรีม เนย โยเกิร์ต (ยกเว้นโยเกิร์ตออร์แกนิคบางชนิดที่ผ่านการย่อยแลคโตสแล้ว) และอาหารแปรรูปบางชนิดที่มีส่วนผสมของนม
เราสามารถสังเกตอาการตัวเอง เพื่อให้รู้ว่าเราแพ้แลคโตสหรือไม่ โดยสังเกตอาการหลังทานนม ว่ามีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด พอลองงดนมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวแล้วพบว่าอาการดีขึ้น หรือหายไป หากไม่แน่ใจหรือมีอาการรุนแรง สามารถไปพบแพทย์ โดยตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี Hydrogen breath test หรือ Lactose tolerance test เพิ่มเติม
สาเหตุที่ร่างกายบางคนย่อยแลคโตสไม่ได้ แบ่งออกเป็นสองวิธีหลัก ๆ คือ ขาดเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ในลำไส้เล็ก หรือแลคโตสไม่ถูกย่อย ทำให้ถูกแบคทีเรียหมักจนเกิดแก๊สและอาการต่าง ๆ