สารบัญบทความ
Toggleในโลกธุรกิจสมัยใหม่ แบรนด์ดังหลายเจ้าเลือกที่จะไม่ผลิตสินค้าด้วยตัวเองแล้ว แต่หันไปใช้บริการของบริษัท OEM คือ ผู้รับจ้างผลิตสินค้าตามสั่งแทน โดย OEM เป็นบริการที่ทางโรงงานจะผลิตสินค้าตามสเปกที่ทางแบรนด์กำหนดมา แล้วให้แบรนด์เหล่านั้นนำไปขายในชื่อของตัวเองต่อได้เลย
สินค้า OEM คือบริการที่มีรูปแบบหลากหลาย มีทั้ง ODM คือบริการที่โรงงานออกแบบและผลิตสินค้าให้เสร็จสรรพ ลูกค้าเอาไปติดแบรนด์ของตัวเองแล้วขายได้ทันที ด้วยความสะดวกและยังลดต้นทุนการผลิตลงได้จึงทำให้แบรนด์ดังต่างๆ หันไปใช้บริการ OEM หรือ ODM แทนการผลิตแบบ OBM คือแบรนด์ต้องผลิตสินค้าและจำหน่ายเองกันเกือบหมดแล้ว สำหรับใครที่อยากจะเข้าใจการทำงานของระบบการผลิตเหล่านี้มากขึ้น วันนี้เราก็ได้รวบรวมและเปรียบเทียบการทำธุรกิจผลิตสินค้าจำหน่ายแต่ละรูปแบบมาให้วิเคราะห์และตัดสินใจเลือกลงทุนกันได้เลย
OEM คืออะไร? ทำความรู้จักกับผู้ผลิตต้นทางของสินค้ายอดนิยม
OEM ย่อมาจาก บริษัทที่ผลิตสินค้า (หรือชิ้นส่วนสินค้า) ให้แบรนด์อื่นนำไปขายต่อภายใต้ชื่อแบรนด์ของตัวเอง โดยคำว่า OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer แปลตรงตัวคือ ผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม หรือ ผู้ผลิตสินค้าให้ OEM brand อื่นอีกที อธิบายกันอย่างง่ายๆ หมายถึง โรงงาน OEM คือ บริษัทหรือโรงงานที่มีหน้าที่รับจ้างผลิตสินค้าอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนเรื่องการจำหน่ายก็เป็นกรรมสิทธิ์ของแบรนด์ที่จ้างมาโดยตรง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือสมาร์ทโฟนรุ่นดังบางยี่ห้อใช้ชิปจาก Intel, หน้าจอจาก Samsung หรือแม้แต่ iPhone ที่ผลิตโดย Foxconn แต่ถูกขายภายใต้ชื่อแบรนด์ Apple เป็นต้น บทบาทสำคัญของ OEM จะเป็นการช่วยให้บริษัทต่างๆ ลดต้นทุนการผลิตและมีเวลาที่จะไปโฟกัสที่การออกแบบหรือการตลาดแทนได้
ตัวอย่างการใช้งานจริงของ OEM
- บริษัท A มีแบรนด์สินค้าของตัวเอง แต่ไม่มีโรงงานผลิต → จ้างบริษัท B ผลิตสินค้าให้ภายใต้แบรนด์ของบริษัท A → บริษัท B คือ OEM
- สินค้า oem คืออะไรบ้าง? → ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ โน้ตบุ๊กบางแบรนด์อาจใช้ฮาร์ดแวร์จากผู้ผลิต OEM เช่น ชิป Intel, หน้าจอจาก LG, แบตเตอรี่จาก Panasonic เป็นต้น โดย
- OEM ยอดนิยมในอุตสาหกรรมจะมีดังนี้
- ยานยนต์ (อะไหล่รถ)
- อิเล็กทรอนิกส์ (ฮาร์ดดิสก์, การ์ดจอ)
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
ข้อดีของ OEM
- ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงงานเอง ลดต้นทุนมหาศาลในการตั้งโรงงาน ผลิตสินค้าได้ทันทีโดยใช้โรงงานคนอื่น
- ลดความยุ่งยากด้านการผลิต แบรนด์สามารถโฟกัสกับการทำตลาด, ออกแบบ, และขายสินค้า ไม่ต้องบริหารงานผลิตเอง ตั้งสเปคสินค้าได้ตามต้องการ สามารถกำหนดคุณภาพ รูปร่าง และมาตรฐานของสินค้าให้ตรงกับความต้องการได้
- ขยายตลาดได้เร็วกว่า ใช้โรงงาน OEM หลายที่พร้อมกัน ทำให้ขยายผลิตภัณฑ์ออกตลาดได้ไวมาก
ข้อควรระวัง
- คุณภาพอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแบรนด์ที่สั่งผลิต
- บางครั้งถูกนำไปเปรียบเทียบกับสินค้าแท้ (Original) แม้จะมาจากโรงงานเดียวกัน
- สินค้า OEM จึงเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการสร้างแบรนด์เองโดยไม่ต้องผลิตสินค้าตั้งแต่ต้น แต่ต้องเลือกผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพดี
แล้ว ODM คือ อะไรเหมาะกับใครในการทำธุรกิจสินค้า
ODM คือ บริษัทที่มีบริการทั้งออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัทอื่น (แบรนด์) เพื่อนำไปขายภายใต้ชื่อแบรนด์ของตัวเอง OEM ODM คือบริการที่คล้ายกันแต่จะต่างกันตรงที่ ODM จะเพิ่มขั้นตอนการออกแบบสินค้าเข้าไปด้วย ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตสินค้าตามที่แบรนด์สั่งอย่างเดียว โดย ODM ย่อมาจาก Original Design Manufacturer ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่ช่วยให้แบรนด์ไม่ต้องออกแบบหรือพัฒนาสินค้าเองเลย แต่สามารถเลือกจากแบบที่ผู้ผลิต ODM มีอยู่แล้วได้ หรือร่วมกันปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการได้ ทำให้เกิดความสะดวกแก่ลูกค้า ไม่ต้องออกแบบเอง แค่เลือกแบบที่โรงงานเสนอมา หรือสั่งปรับแต่งเล็กน้อย เหมาะกับธุรกิจที่อยากมีสินค้าของตัวเอง แต่ไม่อยากลงทุนสร้างโรงงานหรือพัฒนากระบวนการผลิตเอง โดย ODM ช่วยให้แบรนด์ ประหยัดเวลา, เงิน, และทรัพยากร ในการพัฒนาสินค้า
ข้อดีของ ODM
- ลดต้นทุนการวิจัยและพัฒนา (R&D)
- ประหยัดเวลาเพราะไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์
- เหมาะสำหรับแบรนด์ที่ไม่มีเทคโนโลยีหรือกำลังการผลิต
ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ใช้ ODM
- อิเล็กทรอนิกส์ (สมาร์ทโฟน, แล็ปท็อป)
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
- ของใช้ในบ้าน
- เครื่องสำอาง
OBM ศูนย์รวมการทำธุรกิจแบรนด์ของตัวเองครบวงจร
สำหรับใครที่มีสินค้าของตัวเอง ผลิตเอง ขายเอง ก็จะเป็นธุรกิจในรูปแบบ OBM ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจที่สร้างสินค้าและจำหน่ายภายใต้แบรนด์ของตัวเองทั้งหมด ออกแบบเอง ผลิตเอง และทำตลาดเอง โดยไม่ได้เอาสินค้าไปขายให้คนอื่นติดแบรนด์ใหม่
ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำธุรกิจในรูปแบบ OBM
- Apple (iPhone, MacBook)
- Samsung (Galaxy phone, TV)
- Nike (รองเท้า เสื้อผ้า)
ข้อจำกัดการทำธุรกิจในรูปแบบ OBM
1. ใช้เงินลงทุนสูง
ต้องลงทุนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิตและการทำตลาด ค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการเป็น OEM ODM คือ รับจ้างผลิตแน่นอน
2. ความเสี่ยงทางการตลาดสูง
คุณต้องสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์เอง ถ้าการตลาดไม่ดี ลูกค้าก็จะไม่รู้จักแบรนด์ ขายสินค้าไม่ได้ มีความเสี่ยงในการขาดทุนสูง
3. ต้องมีทีมงานรอบด้าน
ต้องมีทีมงานที่มีความรู้ด้านการตลาด การออกแบบ การขาย และการบริหารแบรนด์ ถ้าขาดทักษะเหล่านี้ไปธุรกิจก็เติบโตได้ช้าหรืออาจสะดุดลงได้
4. ต้องใช้เวลาในการสร้างแบรนด์
กว่าแบรนด์ OBM จะเป็นที่รู้จักของผู้คนได้ก็ต้องใช้เวลาในการสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ ไม่เหมือน OEM/ODM ที่ไม่จำเป็นต้องสร้างชื่อเสียงมากนัก เน้นแค่กำไรจากการผลิตสินค้าให้คนอื่น
สรุปเปรียบเทียบการทำธุรกิจแบบ OEM ODM OBM คืออะไร แตกต่างกันยังไงมาดูกัน
- OEM ผลิตตามแบบลูกค้า เช่น การรับจ้างผลิตนมโยเกิร์ต , ผลิตเครื่องสำอาง
- ODM บริการทั้งออกแบบ ผลิตให้ลูกค้าเลือกเอาแบรนด์ไปติด เช่น โรงงานทำลิปสติกสำเร็จรูปให้เลือกแล้วติดแบรนด์ได้
- OBM ทำออกแบบเอง ผลิตเอง และสร้างแบรนด์ตัวเอง เช่น ตัวอย่างแบรนด์ดังๆ ที่มีทำครบวงจร
OEM ทางเลือกการทำธุรกิจที่ BUTTERFLY สู่กำไรที่ยั่งยืน
หลังจากที่ได้ศึกษาว่า OEM หมายถึงอะไรแล้ว จะพบว่ามีข้อดีมากมายในการทำธุรกิจ เพราะการเลือกทำธุรกิจ OEM คือ การทำธุรกิจที่ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงงานเอง ลดต้นทุนมหาศาลในการตั้งโรงงาน ลดความยุ่งยากด้านการผลิต ใครกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่จะทำ OEM แนะนำเลยว่าผลิตภัณฑ์รักสุขภาพกำลังเป็นเทรนด์มาแรงที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องทั้งผลิตภัณฑ์นมและโยเกิร์ต ในยุคที่ผู้คนเริ่มใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ยังไงอาหารสายสุขภาพก็ขายดีตลอดกาลแน่นอน และ “Butterfly Organic” ก็มีทั้งบริการรับสร้างแบรนด์ รับผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นโรงงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล การันตีในด้านคุณภาพได้อย่างแท้จริง พร้อมจะนำพาคุณมุ่งสู่กำไรที่ยั่งยืน หากใครสนใจ สามารถสอบถามผ่าน LINE OFFICIAL Butterfly Organic ได้เลย
คำถามที่พบบ่อย
ผู้ผลิตตามแบบหรือคำสั่งของลูกค้า โดยสินค้าเหล่านั้นจะถูกขายภายใต้ แบรนด์ของลูกค้า ไม่ใช่แบรนด์ของผู้ผลิตเอง
สินค้าที่ โรงงานผลิตให้ตามสั่ง แล้วลูกค้าเอาไปใช้ขายภายใต้แบรนด์ตัวเอง
สินค้า OEM มีหลายผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบการผลิตที่ยืดหยุ่นและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เช่น สินค้าไอที,หูฟัง, ลำโพง Bluetooth,สายชาร์จ, Power Bank เป็นต้น